ประวัติการประกวด
การประกวดนางสาวไทยสามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคได้แก่นางสาวไทย ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2477- พ.ศ. 2483)
การประกวดนางสาวไทย จัดครั้งแรกในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยใช้ชื่อว่า "นางสาวสยาม" รัฐบาลได้จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ ภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ ซึ่งเป็นสโมสรคณะราษฎร์ ในปี พ.ศ. 2477 เป็นการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญเป็นปีที่สอง แต่เริ่มจัดการประกวดนางสาวสยามเป็นปีแรก กำหนดระยะเวลาจัดงาน 5 วัน คือวันที่ 8 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ในคืนวันที่ 8 ธันวาคม เป็นการคัดเลือก นางสาวธนบุรี คืนวันที่ 9 ธันวาคม เป็นคัดเลือก นางสาวพระนคร และคืนวันที่ 10 - 12 ธันวาคม เป็นการประกวด นางสาวสยาม โดยผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า ต่อมาในพ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนเป็นชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า และได้เพิ่มการสวมใส่ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลังในปีถัดมาในยุคที่ 1 จัดการประกวดที่พระราชอุทยานสราญรมย์ ประเทศไทยมี ผู้ได้รับเลือกเป็น "นางสาวสยาม" จำนวน 5 คน และ "นางสาวไทย" จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือ กฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า "สยาม" ให้ใช้คำว่า "ไทย" แทน ดังนั้น การประกวด "นางสาวสยาม" จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด "นางสาวไทย" นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482
ขณะที่รัฐบาลกำลังเตรียมจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2484 ซึ่งกำหนดเริ่มในวันที่ 8 ธันวาคม แต่ในเช้าตรู่วันที่ 8 ธันวาคมนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งหลายแห่ง มีการสู้รบกันที่ บางปู สมุทรปราการ อ่าวมะนาว ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานี ฯลฯ ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะสงคราม งานฉลองรัฐธรรมนูญในปีนั้นจึงถูกยกเลิกทันที และไม่มีการจัดงานไปจนสงครามสงบ
นางสาวไทย ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2497)
หลังสงครามสงบ ใน พ.ศ. 2488 พระนครบอบช้ำจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรมาก ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นฟูอยู่ระยะหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลจึงได้จัดงานฉลองรัฐธรรมนูญขึ้นอีกครั้ง และการประกวดนางสาวไทยในยุคที่ 2 ได้เริ่มอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 แต่ปี พ.ศ. 2492 มีงานฉลองรัฐธรรมนูญแต่เว้นการประกวดไป ปีถัดมารัฐบาลกลับมาจัดการประกวดอีกครั้ง โดยเพิ่มการสวมใส่ชุดว่ายน้ำในการประกวดด้วยและได้จัดการประกวดต่อเนื่องจน ถึง พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่รัฐบาลเป็นผู้มีบทบาทในการจัดการประกวด เนื่องจากงานฉลองรัฐธรรมนูญได้ ถูกยกเลิกไปอีก เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองในช่วงรอยต่อของประชาธิปไตยและเผด็จการ การประกวดนางสาวไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลองรัฐธรรมนูญก็จึงไม่ได้จัด ขึ้นด้วยนางสาวไทย ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2515)
จากการที่งานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญได้ถูกยกเลิกไป ทำให้ไม่มีการประกวด นางสาวไทยในช่วงเวลาดังกล่าว แต่มักจะมีการจัดในระดับท้องถิ่น หรือการประกวดเนื่องในโอกาสหรือวาระพิเศษต่าง ๆ เช่น การประกวดเทพีลุมพินี ที่สวนลุมพินี (คนสมัยนั้นส่วนใหญ่จะเรียกสวนลุมพินีรวมว่า สนามมวยลุมพินีแต่ ไม่ได้เป็นจัดการประกวดในสนามมวยแต่อย่างใด) , การประกวดนางสาวไทย โทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม , การประกวดนางงามตุ๊กตาทอง ในงานประกวดภาพยนตร์ตุ๊กตาทอง , การประกวดสาวงาม องค์กฐินชิงถ้วยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นต่อมาในปี พ.ศ. 2503 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทดลองจัดการประกวด "นางงามวชิราวุธ" ขึ้นในงานวชิราวุธานุสรณ์ ซึ่งเป็นงานที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ อีกวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างความบันเทิง แก่ประชาชนผู้มาเที่ยวงาน ส่วนสถานที่จัดงานคือบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ จุดมุ่งหมายของการจัดประกวด นางสาวไทย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการใช้ตำแหน่งนางสาวไทย เป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียง ให้แก่ประเทศ และ ใช้รูปแบบของการเข้าร่วมประกวดนางงาม ระดับชาติทำให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2507 คณะกรรมการการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์ ได้มีการเปลี่ยนชื่อการประกวดมาเป็นการประกวด "นางสาวไทย "
นางสาวไทย ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2527- พ.ศ. 2542)
ในปี พ.ศ. 2516 ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง การประกวดนางสาวไทยจึงได้หยุดจัดไป จนปี พ.ศ. 2527 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ โดยนายชาติเชื้อ กรรณสูต นายกสมาคม และเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ได้รื้อฟื้นการจัดประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้ง เพื่อคัดเลือกตัวแทนไปประกวดนางงามจักรวาล โดยในปี พ.ศ. 2527 ได้จัดการประกวดขึ้นที่ เวทีกลางแจ้ง โรงแรมแกรนด์พาเลซ พัทยา จ.ชลบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ได้จัดการประกวดที่เวทีกลางสวนน้ำสวนสยาม ซึ่งในปีนั้นได้เกิดฝนตกอย่างหนัก ทำให้การประกวดต้องหยุดชะงักเป็นช่วงๆ เป็นอุปสรรคต่อการประกวด หลังจากนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา การประกวดจึงได้จัดในอาคาร ซึ่งจากการเว้นว่างการประกวดไปนานหลายปี ทำให้ช่วงสองปีแรกไม่ได้รับความสนใจจากผู้คนเท่าใดนัก ทั้งผู้สมัครที่มีจำนวนน้อยและหาผู้สนับสนุนการประกวดยาก หลังจากนั้นผู้คนเริ่มรู้จัก "นางสาวไทย" กันมากขึ้น จึงมีผู้สนใจสมัครเข้าประกวด และภาคเอกชนเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนต่างๆกันมาก นางงามคนที่36ได้เข้าประกวดเป็นครั้งสุดท้ายในปี1999 สุรางค์ เปรมปรีด์ ดูแลการผลิตรายการของช่อง7สีได้รับผิดชอบการประกวดสิ้นสุดการประกวดนางงาม ช่อง7สี ปี พ.ศ. 2542พรทิพย์ นาคหิรัญกนก |
นางสาวไทย ยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2551)
เนื่องจากเกิดปัญหาเรื่องสิทธิประโยชน์ในชื่อ "นางสาวไทย" ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์คือสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ กับเจ้าของสิทธิ์ในการจัดการประกวดคัดเลือกตัวแทนสาวไทยไปประกวดนางงาม จักรวาล คือ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ทั้งสองฝ่ายจึงได้แยกกันจัด โดยทางสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ยังจัดการประกวดนางสาวไทยต่อไป แต่นางสาวไทยไม่ได้สิทธิ์ไปประกวดนางงามจักรวาล และสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ได้ ให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด โดยมีการพัฒนารูปแบบการจัดประกวดให้เหมาะสมกับความเป็นกุลสตรี สภาพเศรษฐกิจ และสังคม ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น อาทิ การยกเลิกการใส่ชุดว่ายน้ำบนเวที เพื่อเป็นการรักษาภาพลักษณ์ของสตรีไทย , การใช้ คอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผลคะแนน , การวัดระดับ IQ และ EQ รวมทั้งการนำความสามารถพิเศษของผู้เข้าประกวด มาใช้ประกอบในการพิจารณาการตัดสิน เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุดในทุกๆด้าน ไม่ใช่แต่เพียงความสวยอย่างเดียว นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการประกวดรอบคัดเลือกในภูมิภาคต่างๆ เพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้หญิงไทยทั่วประเทศ ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประกวดอย่างทั่วถึง ในยุคนี้ ผู้ที่ได้รับตำแหน่ง นางสาวไทยจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง "ทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว" ทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณีของไทย ให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก ซึ่งต้องเดินทางไป ยังสำนักงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่มีสำนักงานสาขาถึง 17 แห่งทั่วโลก รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตามจังหวัดต่างๆ ภายในประเทศตลอดทั้งปี จุดมุ่งหมายของการประกวดในยุคนี้ ตรงกับแนวคิดของคำว่า "นางสาวไทย" ที่คนไทยเข้าใจความหมาย จึงได้รับการสนับสนุนจากองค์กรและส่วนราชการต่าง ๆ มากมาย อาทิ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รวมทั้งจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศรายนามนางสาวไทยและรองนางสาวไทย
- ดูเพิ่มที่ รายนามนางสาวไทยและรองนางสาวไทย
สถานที่จัดการประกวด
- พระราชอุทยานสราญรมย์ พ.ศ. 2477-2481, พ.ศ. 2507-2515
- สวนอัมพร พ.ศ. 2482-2494, พ.ศ. 2547
- สวนลุมพินี พ.ศ. 2495-2497
- เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2527 (โรงแรม แกรนด์ พาเลซ), พ.ศ. 2549 (โรงละครไทยอลังการ)
- สวนสยาม พ.ศ. 2528
- บางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว พ.ศ. 2529-2537, พ.ศ. 2540-2542, พ.ศ. 2554
- ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2543-2545
- อิมแพ็ค เมืองทองธานี พ.ศ. 2546 (อารีนา), พ.ศ. 2550 (รอยัล จูบิลลี บอลรูม)
- รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน พ.ศ. 2551
- โรงละครอักษรา คิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์ พ.ศ. 2552-2553
พิธีกรในรอบตัดสิน
เรวัติ พุทธินันท์ (พ.ศ. 2527)
- พลากร สมสุวรรณ (พ.ศ. 2528-2531)
- ธงไชย แมคอินไตย (พ.ศ. 2529-2530)
- วิทวัส สุนทรวิเนตร์ (พ.ศ. 2532-2540)
- วรทา วัฒนะชยังกูร (อภิวัฒน์ วัฒนางกูร) (พ.ศ. 2541-2542)
- ยุรนันท์ ภมรมนตรี (พ.ศ. 2543-2544)
- กิตติ สิงหาปัด (พ.ศ. 2545)
- สหรัถ สังคปรีชา (พ.ศ. 2546)
- อนุชิต จุรีเกต (พ.ศ. 2547)
- เมทนี บุรณศิริ (พ.ศ. 2549)
- วิลลี่ แมคอินทอช (พ.ศ. 2550)
- สัญญา คุณากร (พ.ศ. 2551)
- วุฒิธร มิลินทจินดา (พ.ศ. 2552)
- ภัทรพล ศิลปาจารย์ (พ.ศ. 2553)
พิธีกรหญิง
- กาญจนา จินดาวัฒน์ (พ.ศ. 2527)
- ปิยะมาศ โมนยะกุล (พ.ศ. 2528)
- มยุรา ธนะบุตร (พ.ศ. 2531-2537)
- ปรียานุช ปานประดับ (พ.ศ. 2533)
- มยุรา ธนะบุตร และ ยลดา รองหานาม (พ.ศ. 2535)
- จิระประภา เศวตนันทน์ (พ.ศ. 2537)
- อรอนงค์ ปัญญาวงศ์ (พ.ศ. 2538)
- ผุสชา โทณะวนิก (พ.ศ. 2541-2542)
- อรอนงค์ ปัญญาวงศ์ และ อภิสมัย ศรีรังสรรค์ (พ.ศ. 2544)
ป้าดโธ!!!!!!!!! |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น