วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คุณธรรมคือ

คุณธรรมคือ???????

วัดร่องขุ่น เชียงราย

คุณธรรม คืออะไร

คุณธรรม (Morality) และจริยธรรม (Ethics)
เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

คุณธรรม แปลว่า...... สภาพคุณงามความดี
จริยธรรม แปลว่า..... ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
บางครั้งก็เรียกควบกันไปเป็นคุณธรรม จริยธรรม
โสเครตีส เห็นว่า คุณธรรมที่แท้จริงมีคุณค่าภายในตัวของมัน คือ ทำให้ผู้ครอบครองความดีเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 
เพลโต้ แนะว่า คุณธรรมต้องตั้งอยู่บนความรู้ สิ่งที่ยึดถือว่าเป็นคุณธรรม เช่น ความกล้าหาญ ความพอดี ความยุติธรรม และศาสนกิจ จะไม่เป็นคุณธรรม หากสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่มีความรู้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ สังคมที่คนในสังคมไม่มีคุณธรรมจริยธรรม ก็จะเป็นสังคมไร้ระเบียบ มีการเบียดเบียนละเมิดและขัดแย้งกัน
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมประชาธิปไตย


 
Michael L. Gross เขียนไว้ใน Ethics and Activism: The Theory and Practice of Political Morality  เขามีความเชื่อว่า ความมั่นคงของประชาธิปไตยสมัยใหม่มีพื้นฐานอยู่บนจริยธรรมและการดำเนินการ ของจิต เมื่อรัฐทำผิดพลาด มันขึ้นอยู่กับการดำเนินการแก้ไขโดยพลเมืองที่ใช้อารมณ์ความรู้สึกเชิง ศีลธรรมจรรยานำพวกเขาไปสู่การรู้และแก้ไขความผิด แต่ความรู้สึกเชิงศิลธรรมจรรยาที่ว่านี้ยังคงมีปัญหาที่การตีความ วรรณกรรมด้านประชาธิปไตยและจริยธรรมของนักทฤษฎีการเมืองสมัยคลาสสิกสามารถ จำแนกได้เป็น  2 กลุ่ม
กลุ่มแรก เป็นกลุ่มจริยธรรมทางการเมืองที่อ่อนแอซึ่งพบได้ในงานของ Tocqueville, Truman, Dahl,และ Madison  นักทฤษฎีเหล่านี้เน้นแนวความคิดที่อ่อนแอของคุณลักษณะประชาธิปไตย การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมกระตุ้นสิ่งที่มีอยู่ในใจคนเกี่ยวกับความสุข ไม่ใช่ความชัดเจนของกฎธรรมชาติ การตัดสินทางจริยธรรมถูกสอนให้ยึดมั่นในความห่วงใยต่อท้องถิ่น และการจัดการที่มีประสิทธิภาพต่อการเมืองที่เห็นแก่พวกพ้อง ไม่ใช่ห่วงใยต่อหลักการสากลของความยุติธรรมหรือความดีที่ยึดมั่นร่วมกัน จริง ๆ แล้ว จริยธรรมทางการเมืองที่อ่อนแอก็มองหาจุดสมดุลระหว่างพฤติกรรมที่เห็นแก่พวก พ้อง และความดีที่ยึดมั่นร่วมกันอยู่เหมือนกันโดยเน้นที่ความจงรักภักดีต่อกลุ่ม และความเคารพกฏของเกม พลเมืองต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิพื้นฐาน และต้องมีความเห็นอกเห็นใจเท่าที่จำเป็นและมีการตัดสินเชิงจริยธรรมอย่าง ระมัดระวัง

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจริยธรรมทางการเมืองแบบเข้มแข็ง
พบได้ในงานของ John Stuart Mill, John Rawls, Jurgen Habermas, และ John Dewey  นักทฤษฎีเหล่านี้เน้นว่า ความยุติธรรมต้องเป็นหลักการอันดับแรกของการเมือง พวกเขานิยามความยุติธรรมโดยใช้คำที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผลประโยชน์ ความเป็นธรรม หรือการบรรยายเชิงจริยธรรม 

แต่แนวความคิดหลักก็คือ ความยุติธรรม คำเหล่านี้ถูกใช้ในการออกแบบเพื่อบูชาหลักการพื้นฐานของความเป็นอิสระ ความมีเกียรติ และความเป็นปัจเจก   นักทฤษฎีกลุ่มนี้เห็นว่า  การกระทำทางการเมืองในฐานะผลผลิตของความจำเป็น ในประวัติศาสตร์  แต่วัตถุประสงค์ของการกระทำนั้นไม่แตกต่างกัน นั่นคือ การปกป้องความยุติธรรม เพียงแต่รูปแบบอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างในช่วงเวลาต่าง ๆ สำหรับนักปรัชญาแต่ละคน นักกิจกรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ปกป้องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางจริยธรรมของ ประชาธิปไตย คุ้มครองอิสรภาพทางการเมืองของพวกเรา   และเราไว้วางใจให้เขาใช้จุดยืนทางจริยธรรมที่กำหนดไว้ในการดำเนินกิจกรรม เมื่อหลักการทางจริยธรรมที่สำคัญถูกละเมิด

Gross เห็นว่า การมีจริยธรรมทางการเมืองที่เข้มแข็ง ต้องการคนที่ถูกกำหนดให้มีบทบาทไปกระทำกิจกรรมการเมืองโดยมุ่งให้เกิดความ ยุติธรรมทางสังคม ความเท่าเทียมกัน และศักดิ์ศรีของมนุษย์   งานที่เกี่ยวข้องต้องถูกกำหนดไว้ในหน้าที่ ความเป็นธรรม และหลักการที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง  เขาต้องช่ำชองอย่างมีจริยธรรม และมีทรรศนะชัดเจนเกี่ยวกับหลักการทางจริยธรรม   หมายความว่า พวกนี้จะต้องเป็นอิสระจากผลประโยชน์ของการแบ่งพรรคแบ่งพวก  เป็นอิสระจากอิทธิพลทางการเมือง และระมัดระวังอย่างเต็มที่เกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการเมือง

แต่เมื่อ Gross ทำการวิจัย 3 กรณีศึกษา เขาพบว่า ปัจเจกบุคคลที่มีความสามารถทางการเมืองมากที่สุดส่วนมากเป็นผู้ที่มีความ สามารถทางจริยธรรมน้อยที่สุด และเมื่อเขาศึกษานักกิจกรรมทางการเมืองกรณีผู้ช่วยเหลือพวกยิวให้รอดจากการ ล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซี ผู้เข้าร่วมขบวนการต่อต้านการทำแท้งในอเมริกา  และขบวนการเรียกร้องความสันติในอิสราเอล  เขาพบว่า มันไม่ใช่เรื่องของคนที่มีศีลธรรมจรรยาสูง แต่คนที่มีความบริสุทธิ์ใจหรือไม่มีเล่ห์เหลี่ยมทางศีลธรรม จรรยาต่างหากที่แสดงให้ปรากฏถึงความสามารถทางการเมือง

คุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคลในสังคมประชาธิปไตย

คุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคล หมายถึง สภาพคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์ของปัจเจกบุคคล แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคล มีผู้จำแนกบุคคลออกไปตามสถานภาพในสังคม เช่น ในฐานะเป็นสมาชิกรัฐ และในฐานะผู้นำหรือผู้ปกครองรัฐ การมีคุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคล มีความสำคัญต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากหลักการอิสระภาพ เสรีภาพ และความเสมอภาพของประชาธิปไตยมีความเสี่ยงต่อ การทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม ถ้าสมาชิกในสังคมขาดคุณธรรม

คุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคลในสังคมประชาธิปไตย


จำแนกออกเป็นสองส่วน คือ การมีคุณสมบัติของมนุษย์ที่ดี และ การเป็นประชาชนที่ดีในสังคมประชาธิปไตย ในส่วนแรก จะได้นำเสนอคุณสมบัติร่วมของนานาศาสนาที่กล่าวถึงความดีที่พึงมีในตัวบุคคล อาทิ ความซื่อสัตย์ การทำความดี ความเมตตา การยึดมั่นในหลักธรรม ในส่วนที่สองจะได้นำเสนอ คุณสมบัติร่วมของสังคมที่คาดหวังในตัวบุคคล เช่น การทำตามกฎกติกาของสังคม การไม่ละเมิดกฎหมาย การไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม การมีสัมมาชีวะ เป็นต้น

การเป็นประชาชนที่ดีในสังคมประชาธิปไตย จะได้ชี้ให้เห็นลักษณะเฉพาะของสังคมประชาธิปไตยที่เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับ ประชาชน ที่ต้องมีคุณธรรมจริยธรรมแตกต่างไปจากสังคมในระบอบการปกครองอื่น ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นคุณลักษณะทางจิตของบุคคล ต้องสอดคล้องกับการพิทักษ์ความเป็นอิสระภาพ เสรีภาพ และเสมอภาพของตนเองไปพร้อมกับการเคารพในอิสระภาพ เสรีภาพ และเสมอภาพของคนอื่นด้วย ได้แก่ การเคารพในสิทธิศักดิ์ศรีของมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน การยอมรับความแตกต่างทางความคิด ความเคารพสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การตระหนักและแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ การตระหนักในหน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อส่วนรวม การเห็นแก่ประโยชน์สาธารณะมากกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล เพราะหากบุคคลคำนึงถึงแต่สิทธิเสรีภาพของตนเองโดยไม่สนใจสิทธิเสรีภาพของคน อื่น ก็จะมีความเห็นแก่ตัวยิ่งถ้ามีพัฒนาการขึ้นเป็นผู้ปกครองก็จะกลายเป็นผู้ ปกครองที่เผด็จการณ์

การมีคุณสมบัติของมนุษย์ที่ดี

1.  การยึดและปฏิบัติตามหลักศาสนา 
2.  การเป็นคนดีในสังคม การเป็นประชาชนที่ดีในสังคมประชาธิปไตย1.  การเคารพในสิทธิศักดิ์ศรีของมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน
2.  การยอมรับความแตกต่างทางความคิด
3.  ความเคารพสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น
4.  การตระหนักและแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
5.  การตระหนักในหน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อส่วนรวม
6.  การเห็นแก่ประโยชน์สาธารณะมากกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล
คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่มีต่อสังคมในสังคมประชาธิปไตย

คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่พึงมีต่อสังคม หมายถึงการมีคุณงามความดีในการทำหน้าที่พลเมืองของสังคมประชาธิปไตย ความสำคัญของประเด็นนี้อยู่ที่การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ดี ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการมีผู้ปกครองที่ดีมีคุณธรรม การทำหน้าที่ให้บริการประชาชน บำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้กับประชาชน เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับ การทำหน้าที่ต่อประเทศชาติของประชาชนด้วย

คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่มีต่อสังคมในสังคมประชาธิปไตย ประกอบด้วย
การมีรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ทางบวกในการแสดงบทบาทอย่างแข็งขันในการร่วมพัฒนา และแก้ไขปัญหาของสังคมด้านต่าง ๆ เช่น
1.  การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจประเด็นสาธารณะอย่างแข็งขัน
2.  การมีส่วนร่วมในการกระทำเพื่อส่วนรวมด้วยความเต็มใจ
3.  การสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
4.  การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของบ้านเมือง/เคารพในกฎกติกาของสังคม
5.  การติดตามตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารและหน่วยงานของรัฐ

ทั้งนี้การมีบทบาทดังกล่าวหากทำด้วยความไม่มีคุณธรรมจริยธรรม ก็ก่อให้เกิดความวุ่นวายเดือนร้อนและทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม จนถึงการล้มล้างระบบการเมืองการปกครอง กลายเป็นอนาธิปไตยแทนประชาธิปไตยได้ ในบางกรณีก็อาจกลายเป็นเครื่องมือของคนที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ

คุณธรรมและจริยธรรมของนักพัฒนาในสังคมประชาธิปไตย

คุณธรรมและจริยธรรมของนักพัฒนา หมายถึง จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพของนักพัฒนาที่ดี และการดำรงตนในสังคมอย่างนักพัฒนาที่ดี มีความสำคัญต่อการพัฒนา และรักษาดำรงไว้ซึ่งระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของบ้านเมือง อาจถือได้ว่าเป็นจรรยาบรรณ หรือมาตรฐานวิชาชีพของนักพัฒนาก็ได้

จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพของนักพัฒนาที่ดี และการดำรงตนในสังคมอย่างนักพัฒนาที่ดี ประกอบด้วย
1.  ความรับผิดชอบในการนำความรู้ไปใช้ในทางการเมืองการปกครอง
2.  เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแก่สังคม
3.  ความสุจริตในการแสดงความคิดเห็นต่อระบบการเมืองการปกครองและสังคม
4.  ปกป้องหลักการอิสระภาพ เสรีภาพ และความเสมอภาค
5.  ปกป้องการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
6.  สนับสนุนและปกป้องการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
7.  ต่อต้านการใช้อำนาจการเมืองการปกครองในทางที่ผิดและเสียหายต่อประเทศชาติ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น