วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นางสาวไทย


ประวัติการประกวด

การประกวดนางสาวไทยสามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคได้แก่

นางสาวไทย ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2477- พ.ศ. 2483)

การประกวดนางสาวไทย จัดครั้งแรกในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยใช้ชื่อว่า "นางสาวสยาม" รัฐบาลได้จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ ภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ ซึ่งเป็นสโมสรคณะราษฎร์ ในปี พ.ศ. 2477 เป็นการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญเป็นปีที่สอง แต่เริ่มจัดการประกวดนางสาวสยามเป็นปีแรก กำหนดระยะเวลาจัดงาน 5 วัน คือวันที่ 8 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ในคืนวันที่ 8 ธันวาคม เป็นการคัดเลือก นางสาวธนบุรี คืนวันที่ 9 ธันวาคม เป็นคัดเลือก นางสาวพระนคร และคืนวันที่ 10 - 12 ธันวาคม เป็นการประกวด นางสาวสยาม โดยผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า ต่อมาในพ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนเป็นชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า และได้เพิ่มการสวมใส่ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลังในปีถัดมา

ในยุคที่ 1 จัดการประกวดที่พระราชอุทยานสราญรมย์ ประเทศไทยมี ผู้ได้รับเลือกเป็น "นางสาวสยาม" จำนวน 5 คน และ "นางสาวไทย" จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือ กฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า "สยาม" ให้ใช้คำว่า "ไทย" แทน ดังนั้น การประกวด "นางสาวสยาม" จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด "นางสาวไทย" นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482
ขณะที่รัฐบาลกำลังเตรียมจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2484 ซึ่งกำหนดเริ่มในวันที่ 8 ธันวาคม แต่ในเช้าตรู่วันที่ 8 ธันวาคมนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งหลายแห่ง มีการสู้รบกันที่ บางปู สมุทรปราการ อ่าวมะนาว ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานี ฯลฯ ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะสงคราม งานฉลองรัฐธรรมนูญในปีนั้นจึงถูกยกเลิกทันที และไม่มีการจัดงานไปจนสงครามสงบ

นางสาวไทย ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2497)

หลังสงครามสงบ ใน พ.ศ. 2488 พระนครบอบช้ำจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรมาก ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นฟูอยู่ระยะหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลจึงได้จัดงานฉลองรัฐธรรมนูญขึ้นอีกครั้ง และการประกวดนางสาวไทยในยุคที่ 2 ได้เริ่มอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 แต่ปี พ.ศ. 2492 มีงานฉลองรัฐธรรมนูญแต่เว้นการประกวดไป ปีถัดมารัฐบาลกลับมาจัดการประกวดอีกครั้ง โดยเพิ่มการสวมใส่ชุดว่ายน้ำในการประกวดด้วยและได้จัดการประกวดต่อเนื่องจน ถึง พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่รัฐบาลเป็นผู้มีบทบาทในการจัดการประกวด เนื่องจากงานฉลองรัฐธรรมนูญได้ ถูกยกเลิกไปอีก เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองในช่วงรอยต่อของประชาธิปไตยและเผด็จการ การประกวดนางสาวไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลองรัฐธรรมนูญก็จึงไม่ได้จัด ขึ้นด้วย

 นางสาวไทย ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2515)

จากการที่งานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญได้ถูกยกเลิกไป ทำให้ไม่มีการประกวด นางสาวไทยในช่วงเวลาดังกล่าว แต่มักจะมีการจัดในระดับท้องถิ่น หรือการประกวดเนื่องในโอกาสหรือวาระพิเศษต่าง ๆ เช่น การประกวดเทพีลุมพินี ที่สวนลุมพินี (คนสมัยนั้นส่วนใหญ่จะเรียกสวนลุมพินีรวมว่า สนามมวยลุมพินีแต่ ไม่ได้เป็นจัดการประกวดในสนามมวยแต่อย่างใด) , การประกวดนางสาวไทย โทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม , การประกวดนางงามตุ๊กตาทอง ในงานประกวดภาพยนตร์ตุ๊กตาทอง , การประกวดสาวงาม องค์กฐินชิงถ้วยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทดลองจัดการประกวด "นางงามวชิราวุธ" ขึ้นในงานวชิราวุธานุสรณ์ ซึ่งเป็นงานที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ อีกวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างความบันเทิง แก่ประชาชนผู้มาเที่ยวงาน ส่วนสถานที่จัดงานคือบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ จุดมุ่งหมายของการจัดประกวด นางสาวไทย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการใช้ตำแหน่งนางสาวไทย เป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียง ให้แก่ประเทศ และ ใช้รูปแบบของการเข้าร่วมประกวดนางงาม ระดับชาติทำให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2507 คณะกรรมการการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์ ได้มีการเปลี่ยนชื่อการประกวดมาเป็นการประกวด "นางสาวไทย "

 นางสาวไทย ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2527- พ.ศ. 2542)

ในปี พ.ศ. 2516 ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง การประกวดนางสาวไทยจึงได้หยุดจัดไป จนปี พ.ศ. 2527 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ โดยนายชาติเชื้อ กรรณสูต นายกสมาคม และเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ได้รื้อฟื้นการจัดประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้ง เพื่อคัดเลือกตัวแทนไปประกวดนางงามจักรวาล โดยในปี พ.ศ. 2527 ได้จัดการประกวดขึ้นที่ เวทีกลางแจ้ง โรงแรมแกรนด์พาเลซ พัทยา จ.ชลบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ได้จัดการประกวดที่เวทีกลางสวนน้ำสวนสยาม ซึ่งในปีนั้นได้เกิดฝนตกอย่างหนัก ทำให้การประกวดต้องหยุดชะงักเป็นช่วงๆ เป็นอุปสรรคต่อการประกวด หลังจากนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา การประกวดจึงได้จัดในอาคาร ซึ่งจากการเว้นว่างการประกวดไปนานหลายปี ทำให้ช่วงสองปีแรกไม่ได้รับความสนใจจากผู้คนเท่าใดนัก ทั้งผู้สมัครที่มีจำนวนน้อยและหาผู้สนับสนุนการประกวดยาก หลังจากนั้นผู้คนเริ่มรู้จัก "นางสาวไทย" กันมากขึ้น จึงมีผู้สนใจสมัครเข้าประกวด และภาคเอกชนเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนต่างๆกันมาก นางงามคนที่36ได้เข้าประกวดเป็นครั้งสุดท้ายในปี1999 สุรางค์ เปรมปรีด์ ดูแลการผลิตรายการของช่อง7สีได้รับผิดชอบการประกวดสิ้นสุดการประกวดนางงาม ช่อง7สี ปี พ.ศ. 2542
พรทิพย์  นาคหิรัญกนก

นางสาวไทย ยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2551)

เนื่องจากเกิดปัญหาเรื่องสิทธิประโยชน์ในชื่อ "นางสาวไทย" ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์คือสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ กับเจ้าของสิทธิ์ในการจัดการประกวดคัดเลือกตัวแทนสาวไทยไปประกวดนางงาม จักรวาล คือ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ทั้งสองฝ่ายจึงได้แยกกันจัด โดยทางสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ยังจัดการประกวดนางสาวไทยต่อไป แต่นางสาวไทยไม่ได้สิทธิ์ไปประกวดนางงามจักรวาล และสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ได้ ให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด โดยมีการพัฒนารูปแบบการจัดประกวดให้เหมาะสมกับความเป็นกุลสตรี สภาพเศรษฐกิจ และสังคม ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น อาทิ การยกเลิกการใส่ชุดว่ายน้ำบนเวที เพื่อเป็นการรักษาภาพลักษณ์ของสตรีไทย , การใช้ คอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผลคะแนน , การวัดระดับ IQ และ EQ รวมทั้งการนำความสามารถพิเศษของผู้เข้าประกวด มาใช้ประกอบในการพิจารณาการตัดสิน เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุดในทุกๆด้าน ไม่ใช่แต่เพียงความสวยอย่างเดียว นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการประกวดรอบคัดเลือกในภูมิภาคต่างๆ เพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้หญิงไทยทั่วประเทศ ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประกวดอย่างทั่วถึง ในยุคนี้ ผู้ที่ได้รับตำแหน่ง นางสาวไทยจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง "ทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว" ทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณีของไทย ให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก ซึ่งต้องเดินทางไป ยังสำนักงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่มีสำนักงานสาขาถึง 17 แห่งทั่วโลก รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตามจังหวัดต่างๆ ภายในประเทศตลอดทั้งปี จุดมุ่งหมายของการประกวดในยุคนี้ ตรงกับแนวคิดของคำว่า "นางสาวไทย" ที่คนไทยเข้าใจความหมาย จึงได้รับการสนับสนุนจากองค์กรและส่วนราชการต่าง ๆ มากมาย อาทิ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รวมทั้งจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

 รายนามนางสาวไทยและรองนางสาวไทย

นับจากปี พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2550 ประเทศไทยจัดประกวดนางสาวไทยมาแล้ว 43 ครั้ง โดยมีผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวสยาม 5 คน , ตำแหน่งรองนางสาวสยาม 4 คน , ตำแหน่งนางสาวไทย 38 คน และ ตำแหน่งรองนางสาวไทย 128 คน โดยนางสาวไทยที่เคยเป็นนางงามจักรวาล มี 2 ท่าน ได้แก่ อาภัสรา หงสกุล และ ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก

สถานที่จัดการประกวด

พิธีกรในรอบตัดสิน

เรวัติ พุทธินันท์ (พ.ศ. 2527)

 พิธีกรหญิง

ป้าดโธ!!!!!!!!!

ส้มตำค่ะ

ประวัติ
ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำเป็นครั้ง แรกเมื่อใด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงที่มาของส่วนประกอบต่างๆ ของส้มตำ อาจได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการสันนิษฐานถึงที่มาของส้มตำได้
มะละกอเป็น พืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและถูกนำเข้ามาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้โดยชาวสเปนและโปรตุเกส ในยุคต้นของกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่พริกอาจถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวฮอลันดาในช่วงเวลาต่อมา
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นิโคลาส์ แชรแวส และ เดอ ลาลูแบร์ ต่างได้พรรณาว่าในเวลานั้นมะละกอได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว[1] และได้กล่าวถึง กระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริกไทย ถั่วชนิดต่างๆ ที่ล้วนสามารถใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้ ขณะเดียวกันได้เขียนว่า ในขณะนั้นสยามไม่มี กะหล่ำปลี และ ชาวสยามนิยมบริโภคข้าวสวย อย่างไรก็ตามไม่มีการกล่าวถึง มะเขือเทศ และ พริกสด แต่อย่างใด
ในปัจจุบัน ส้มตำเป็นอาหารที่แพร่หลายและนิยมรับประทานทุกภาคของประเทศไทย และยังเป็นอาหารไทยที่ขึ้นหน้าขึ้นตาต่อชาวโลกอีกด้วย

 ตำหมากหุ่ง: ส้มตำในประเทศลาว
ในภาษาลาวเรียกส้มตำว่าตำหมากหุ่ง (หมากหุ่งหมายถึงมะละกอ)เครื่องปรุงโดยทั่วไปประกอบด้วยมะละกอสับเป็นเส้น เกลือ ผงชูรส พริก กระเทียม น้ำตาล น้ำปลา น้ำปลาร้าหรือน้ำปลาแดก มะนาว ถั่วฝักยาว และอื่นๆ
การดัดแปลง
เป็นการประยุกต์จากส้มตำปกติมาเป็นส้มตำในแบบของท้องถิ่นหรือตามชอบ
  • ส้มตำไทย ไม่ใส่ปูและปลาร้า แต่ใส่กุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่วแทน รสชาติออกหวานและเปรี้ยวนำ บางถิ่นอาจใส่ปูดองเค็มด้วย เรียกว่า ส้มตำไทยใส่ปู
  • ส้มตำปู ใส่ปูเค็มแทนกุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่ว รสชาติออกเค็มนำ
  • ส้มตำปลาร้า ใส่ปลาร้าแทนกุ้งแห้ง นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน
  • ตำซั่ว ใส่ทั้งเส้นขนมจีนและเส้นมะละกอ นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน
  • ตำป่า ใส่ผักหลายชนิด เช่น ผักกระเฉด ผักกาดดอง ปลากรอบ ถั่วลิสง ถั่วงอก ถั่วฝักยาว รวมถึงหอยแมลงภู่ จะนิยมรับประทานในภาคอีสาน
  • ตำโคราช ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและส้มตำปลาร้า คือใส่ทั้งกุ้งและปลาร้า
  • ส้มตำไข่เค็ม ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและไข่เค็ม ไม่ใส่ปูดอง ทำให้ส้มตำมีน้ำข้น รสชาติกลมกล่อมพอดี เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบส้มตำเผ็ดจัด
  • นอกจากนี้ ยังมีบางที่ นำเอาผักหรือผลไม้ดิบ อย่างเช่น มะม่วงดิบ ใส่แทนมะละกอดิบ เรียกว่า "ตำมะม่วง," กล้วยดิบ เรียกว่า "ตำกล้วย," แตงกวา เรียกว่า "ตำแตง," ถั่วฝักยาว เรียกว่า "ตำถั่ว," และแครอทดิบ เป็นต้น ถ้าใช้ผลไม้หลายๆ อย่างเรียกว่า ตำผลไม้
  • นอกจากนี้ยังมีการใส่วัตถุดิบอย่างอื่นลงไป เช่น ใส่ปูม้าเรียกว่า ส้มตำปูม้า ใส่หอยดองเรียกว่า ส้มตำหอยดอง
การปรับปรุงส้มตำ
ในปัจจุบันมีการนำส้มตำไปเป็นอาหารหลากหลายโดยยังคงส่วนประกอบหลักแต่ เปลี่ยนแปลงหน้าตาเช่น นำมะละกอไปทอด หรือผักอื่นไปทอดแล้วนำมาทำเป็นส้มตำโดนราดน้ำยำแบบส้มตำพร้อมผักจนกลายเป็น อาหารชนิดใหม่ขึ้นมา หรือนำส้มตำไปใช้ราดแทนน้ำยำตามปกติ แต่ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใดก็ตามหากยังคงรสขาติและวัตถุดิบในการทำ ก็ยังคงมีการใช้คำว่าส้มตำอยู่เสมอ

ในสื่อ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์ เพลงส้มตำ ขึ้นโดยมีการใส่ท่วงทำนองในรูปแบบเพลงลูกทุ่ง และ ขับร้องโดยนักร้องที่มีชื่อเสียงหลายท่านจนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
ในปี พ.ศ. 2533 เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้แต่งเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึง ส้มตำ ในเพลงชื่อ ปาปาย่า ป๊อก ป๊อก ในอัลบั้มชุด เจาะเวลา... ซึ่งเป็นอัลบั้มเดี่ยวชุดแรก และเป็นเพลงที่ได้รับความนิยม ซึ่งในสมัยสงครามเวียดนาม คำว่า ปาปาย่า ป๊อก ป๊อก นี้เป็นที่รับรู้กันในสังคมว่าหมายถึงส้มตำ แต่มิใช่เป็นคำเรียกส้มตำในภาษาอังกฤษอย่างที่หลายคนเข้าใจ
ในปี พ.ศ. 2551 มีภาพยนตร์เรื่อง ส้มตำ นำแสดงโดย นาธาน โจนส์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับฝรั่งที่เมื่อกินส้มตำแล้วจะควบคุมตัวเองไม่ได้[2]

คุณธรรมคือ

คุณธรรมคือ???????

วัดร่องขุ่น เชียงราย

คุณธรรม คืออะไร

คุณธรรม (Morality) และจริยธรรม (Ethics)
เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

คุณธรรม แปลว่า...... สภาพคุณงามความดี
จริยธรรม แปลว่า..... ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
บางครั้งก็เรียกควบกันไปเป็นคุณธรรม จริยธรรม
โสเครตีส เห็นว่า คุณธรรมที่แท้จริงมีคุณค่าภายในตัวของมัน คือ ทำให้ผู้ครอบครองความดีเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 
เพลโต้ แนะว่า คุณธรรมต้องตั้งอยู่บนความรู้ สิ่งที่ยึดถือว่าเป็นคุณธรรม เช่น ความกล้าหาญ ความพอดี ความยุติธรรม และศาสนกิจ จะไม่เป็นคุณธรรม หากสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่มีความรู้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ สังคมที่คนในสังคมไม่มีคุณธรรมจริยธรรม ก็จะเป็นสังคมไร้ระเบียบ มีการเบียดเบียนละเมิดและขัดแย้งกัน
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมประชาธิปไตย


 
Michael L. Gross เขียนไว้ใน Ethics and Activism: The Theory and Practice of Political Morality  เขามีความเชื่อว่า ความมั่นคงของประชาธิปไตยสมัยใหม่มีพื้นฐานอยู่บนจริยธรรมและการดำเนินการ ของจิต เมื่อรัฐทำผิดพลาด มันขึ้นอยู่กับการดำเนินการแก้ไขโดยพลเมืองที่ใช้อารมณ์ความรู้สึกเชิง ศีลธรรมจรรยานำพวกเขาไปสู่การรู้และแก้ไขความผิด แต่ความรู้สึกเชิงศิลธรรมจรรยาที่ว่านี้ยังคงมีปัญหาที่การตีความ วรรณกรรมด้านประชาธิปไตยและจริยธรรมของนักทฤษฎีการเมืองสมัยคลาสสิกสามารถ จำแนกได้เป็น  2 กลุ่ม
กลุ่มแรก เป็นกลุ่มจริยธรรมทางการเมืองที่อ่อนแอซึ่งพบได้ในงานของ Tocqueville, Truman, Dahl,และ Madison  นักทฤษฎีเหล่านี้เน้นแนวความคิดที่อ่อนแอของคุณลักษณะประชาธิปไตย การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมกระตุ้นสิ่งที่มีอยู่ในใจคนเกี่ยวกับความสุข ไม่ใช่ความชัดเจนของกฎธรรมชาติ การตัดสินทางจริยธรรมถูกสอนให้ยึดมั่นในความห่วงใยต่อท้องถิ่น และการจัดการที่มีประสิทธิภาพต่อการเมืองที่เห็นแก่พวกพ้อง ไม่ใช่ห่วงใยต่อหลักการสากลของความยุติธรรมหรือความดีที่ยึดมั่นร่วมกัน จริง ๆ แล้ว จริยธรรมทางการเมืองที่อ่อนแอก็มองหาจุดสมดุลระหว่างพฤติกรรมที่เห็นแก่พวก พ้อง และความดีที่ยึดมั่นร่วมกันอยู่เหมือนกันโดยเน้นที่ความจงรักภักดีต่อกลุ่ม และความเคารพกฏของเกม พลเมืองต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิพื้นฐาน และต้องมีความเห็นอกเห็นใจเท่าที่จำเป็นและมีการตัดสินเชิงจริยธรรมอย่าง ระมัดระวัง

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจริยธรรมทางการเมืองแบบเข้มแข็ง
พบได้ในงานของ John Stuart Mill, John Rawls, Jurgen Habermas, และ John Dewey  นักทฤษฎีเหล่านี้เน้นว่า ความยุติธรรมต้องเป็นหลักการอันดับแรกของการเมือง พวกเขานิยามความยุติธรรมโดยใช้คำที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผลประโยชน์ ความเป็นธรรม หรือการบรรยายเชิงจริยธรรม 

แต่แนวความคิดหลักก็คือ ความยุติธรรม คำเหล่านี้ถูกใช้ในการออกแบบเพื่อบูชาหลักการพื้นฐานของความเป็นอิสระ ความมีเกียรติ และความเป็นปัจเจก   นักทฤษฎีกลุ่มนี้เห็นว่า  การกระทำทางการเมืองในฐานะผลผลิตของความจำเป็น ในประวัติศาสตร์  แต่วัตถุประสงค์ของการกระทำนั้นไม่แตกต่างกัน นั่นคือ การปกป้องความยุติธรรม เพียงแต่รูปแบบอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างในช่วงเวลาต่าง ๆ สำหรับนักปรัชญาแต่ละคน นักกิจกรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ปกป้องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางจริยธรรมของ ประชาธิปไตย คุ้มครองอิสรภาพทางการเมืองของพวกเรา   และเราไว้วางใจให้เขาใช้จุดยืนทางจริยธรรมที่กำหนดไว้ในการดำเนินกิจกรรม เมื่อหลักการทางจริยธรรมที่สำคัญถูกละเมิด

Gross เห็นว่า การมีจริยธรรมทางการเมืองที่เข้มแข็ง ต้องการคนที่ถูกกำหนดให้มีบทบาทไปกระทำกิจกรรมการเมืองโดยมุ่งให้เกิดความ ยุติธรรมทางสังคม ความเท่าเทียมกัน และศักดิ์ศรีของมนุษย์   งานที่เกี่ยวข้องต้องถูกกำหนดไว้ในหน้าที่ ความเป็นธรรม และหลักการที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง  เขาต้องช่ำชองอย่างมีจริยธรรม และมีทรรศนะชัดเจนเกี่ยวกับหลักการทางจริยธรรม   หมายความว่า พวกนี้จะต้องเป็นอิสระจากผลประโยชน์ของการแบ่งพรรคแบ่งพวก  เป็นอิสระจากอิทธิพลทางการเมือง และระมัดระวังอย่างเต็มที่เกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการเมือง

แต่เมื่อ Gross ทำการวิจัย 3 กรณีศึกษา เขาพบว่า ปัจเจกบุคคลที่มีความสามารถทางการเมืองมากที่สุดส่วนมากเป็นผู้ที่มีความ สามารถทางจริยธรรมน้อยที่สุด และเมื่อเขาศึกษานักกิจกรรมทางการเมืองกรณีผู้ช่วยเหลือพวกยิวให้รอดจากการ ล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซี ผู้เข้าร่วมขบวนการต่อต้านการทำแท้งในอเมริกา  และขบวนการเรียกร้องความสันติในอิสราเอล  เขาพบว่า มันไม่ใช่เรื่องของคนที่มีศีลธรรมจรรยาสูง แต่คนที่มีความบริสุทธิ์ใจหรือไม่มีเล่ห์เหลี่ยมทางศีลธรรม จรรยาต่างหากที่แสดงให้ปรากฏถึงความสามารถทางการเมือง

คุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคลในสังคมประชาธิปไตย

คุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคล หมายถึง สภาพคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์ของปัจเจกบุคคล แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคล มีผู้จำแนกบุคคลออกไปตามสถานภาพในสังคม เช่น ในฐานะเป็นสมาชิกรัฐ และในฐานะผู้นำหรือผู้ปกครองรัฐ การมีคุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคล มีความสำคัญต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากหลักการอิสระภาพ เสรีภาพ และความเสมอภาพของประชาธิปไตยมีความเสี่ยงต่อ การทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม ถ้าสมาชิกในสังคมขาดคุณธรรม

คุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคลในสังคมประชาธิปไตย


จำแนกออกเป็นสองส่วน คือ การมีคุณสมบัติของมนุษย์ที่ดี และ การเป็นประชาชนที่ดีในสังคมประชาธิปไตย ในส่วนแรก จะได้นำเสนอคุณสมบัติร่วมของนานาศาสนาที่กล่าวถึงความดีที่พึงมีในตัวบุคคล อาทิ ความซื่อสัตย์ การทำความดี ความเมตตา การยึดมั่นในหลักธรรม ในส่วนที่สองจะได้นำเสนอ คุณสมบัติร่วมของสังคมที่คาดหวังในตัวบุคคล เช่น การทำตามกฎกติกาของสังคม การไม่ละเมิดกฎหมาย การไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม การมีสัมมาชีวะ เป็นต้น

การเป็นประชาชนที่ดีในสังคมประชาธิปไตย จะได้ชี้ให้เห็นลักษณะเฉพาะของสังคมประชาธิปไตยที่เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับ ประชาชน ที่ต้องมีคุณธรรมจริยธรรมแตกต่างไปจากสังคมในระบอบการปกครองอื่น ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นคุณลักษณะทางจิตของบุคคล ต้องสอดคล้องกับการพิทักษ์ความเป็นอิสระภาพ เสรีภาพ และเสมอภาพของตนเองไปพร้อมกับการเคารพในอิสระภาพ เสรีภาพ และเสมอภาพของคนอื่นด้วย ได้แก่ การเคารพในสิทธิศักดิ์ศรีของมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน การยอมรับความแตกต่างทางความคิด ความเคารพสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การตระหนักและแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ การตระหนักในหน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อส่วนรวม การเห็นแก่ประโยชน์สาธารณะมากกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล เพราะหากบุคคลคำนึงถึงแต่สิทธิเสรีภาพของตนเองโดยไม่สนใจสิทธิเสรีภาพของคน อื่น ก็จะมีความเห็นแก่ตัวยิ่งถ้ามีพัฒนาการขึ้นเป็นผู้ปกครองก็จะกลายเป็นผู้ ปกครองที่เผด็จการณ์

การมีคุณสมบัติของมนุษย์ที่ดี

1.  การยึดและปฏิบัติตามหลักศาสนา 
2.  การเป็นคนดีในสังคม การเป็นประชาชนที่ดีในสังคมประชาธิปไตย1.  การเคารพในสิทธิศักดิ์ศรีของมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน
2.  การยอมรับความแตกต่างทางความคิด
3.  ความเคารพสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น
4.  การตระหนักและแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
5.  การตระหนักในหน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อส่วนรวม
6.  การเห็นแก่ประโยชน์สาธารณะมากกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล
คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่มีต่อสังคมในสังคมประชาธิปไตย

คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่พึงมีต่อสังคม หมายถึงการมีคุณงามความดีในการทำหน้าที่พลเมืองของสังคมประชาธิปไตย ความสำคัญของประเด็นนี้อยู่ที่การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ดี ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการมีผู้ปกครองที่ดีมีคุณธรรม การทำหน้าที่ให้บริการประชาชน บำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้กับประชาชน เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับ การทำหน้าที่ต่อประเทศชาติของประชาชนด้วย

คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่มีต่อสังคมในสังคมประชาธิปไตย ประกอบด้วย
การมีรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ทางบวกในการแสดงบทบาทอย่างแข็งขันในการร่วมพัฒนา และแก้ไขปัญหาของสังคมด้านต่าง ๆ เช่น
1.  การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจประเด็นสาธารณะอย่างแข็งขัน
2.  การมีส่วนร่วมในการกระทำเพื่อส่วนรวมด้วยความเต็มใจ
3.  การสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
4.  การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของบ้านเมือง/เคารพในกฎกติกาของสังคม
5.  การติดตามตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารและหน่วยงานของรัฐ

ทั้งนี้การมีบทบาทดังกล่าวหากทำด้วยความไม่มีคุณธรรมจริยธรรม ก็ก่อให้เกิดความวุ่นวายเดือนร้อนและทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม จนถึงการล้มล้างระบบการเมืองการปกครอง กลายเป็นอนาธิปไตยแทนประชาธิปไตยได้ ในบางกรณีก็อาจกลายเป็นเครื่องมือของคนที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ

คุณธรรมและจริยธรรมของนักพัฒนาในสังคมประชาธิปไตย

คุณธรรมและจริยธรรมของนักพัฒนา หมายถึง จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพของนักพัฒนาที่ดี และการดำรงตนในสังคมอย่างนักพัฒนาที่ดี มีความสำคัญต่อการพัฒนา และรักษาดำรงไว้ซึ่งระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของบ้านเมือง อาจถือได้ว่าเป็นจรรยาบรรณ หรือมาตรฐานวิชาชีพของนักพัฒนาก็ได้

จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพของนักพัฒนาที่ดี และการดำรงตนในสังคมอย่างนักพัฒนาที่ดี ประกอบด้วย
1.  ความรับผิดชอบในการนำความรู้ไปใช้ในทางการเมืองการปกครอง
2.  เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแก่สังคม
3.  ความสุจริตในการแสดงความคิดเห็นต่อระบบการเมืองการปกครองและสังคม
4.  ปกป้องหลักการอิสระภาพ เสรีภาพ และความเสมอภาค
5.  ปกป้องการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
6.  สนับสนุนและปกป้องการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
7.  ต่อต้านการใช้อำนาจการเมืองการปกครองในทางที่ผิดและเสียหายต่อประเทศชาติ